วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อย่าเพิ่งคิด” แล้ว “ทำเลย Robot

สวัสดีครับ 

วันนี้ไม่ได้มาเขียนเกี่ยวกับการวาดรูปแต่อย่างใด.....ครับ

แต่วันนี้จะมาเขียนเกี่ยวกับ Automate Test หรือ Robot ซึ่งผมจะข้ามรายละเอียดเรื่องการเขียนไปก่อน

ผมจะเล่าพอเป็นพิธีก็แล้วกัน (ในความรู้อันน้อยนิดของผม ใครที่มีความรู้มากกว่าเห็นว่ามันไม่ถูกต้องอย่างไร ก็แนะนำเข้ามาได้ครับ)

Automate Test หรือ Robot คือเครื่องมือไว้ช่วยให้ Developer และ Business มาบรรจบกันได้ Robot บอกได้ถึงพฤติกรรมการทำงานของโปรแกรมที่เราเขียนซึ่งจะประกอบไปด้วย Test Case หรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นจำลองมันออกมาให้เห็นเป็นภาษาที่คนทั่วไปเห็นก็อ่อ เข้าใจก็รายละเอียดผมว่า คงต้องหาอ่านต่อกันเองแล้วล่ะครับ

ในนี้มีเขียนไว้ http://www.somkiat.cc/ ลองเข้าไป Search หา keyword Robot ดูครับ

ที่ผมจะเล่าต่อคือ เวลาที่โปรแกรมเราใหญ่โตมโหฬาร ที่มีหลาย Function หลายๆ Module มันก็ทำให้เกิด Test Case ใน Robot เรามากมาย เวลามีการแก้หรือเปลี่ยนแปลงให้ตัวโปรแกรมของเรา Robot ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบพฤติกรรมเราก็จะตาย(ฟ้องว่า พฤติกรรมของโปรแกรมมันเปลี่ยน คุณต้องมาดูและแก้ไขฉันนะ) นี่แหละความวิบัติ

เราเริ่มลงมือแก้ไขใน Test Case มันผูกติดๆ กันนั้นมันจะท้อ ทำไมนะฉันแก้ตรงนี้แล้ว ไอ้ตรงนี้มันตายนะ แก้อีกเอ้าตรงนั้นตายนะ เรามันจะพยายามคิดเผื่อมันเข้าไปด้วยอีก เหมือนเรากำลังทำตัวเหมือนเรากำลังเขียนโปรแกรมอีกหนึ่งโปรแกรมนั่นไม่ใช่มันทำให้เรา “เหนื่อยมาก เพราะคิดไปด้วย แก้ไปด้วย และหงุดหงิดไปด้วย”

ต้องขอขอบคุณ Chockchai Phatharamalai หรือพี่จั๊ว ให้คำแนะนำที่ดีมาก และที่มานั่ง Pair Programming กับผมด้วย

พี่จั๊วให้ผมหยุดการคิดทั้งหมดแล้วพยายามแก้ที่ละ Test Case และค่อยๆ ดูไป”อย่าเพิ่งคิด” ว่ามันจะเกิดอะไรขึ้น ให้เปิด Report ดูแล้วแก้ไปตาม Report นั้นเลย นอกจากจะพบว่าการแก้ Robot นั้นรวดเร็ว และผมก็พบว่าเราเหนื่อยน้อยลงจริง เราเปิด Report แล้วแก้ตาม แล้วรัน Robot แล้วตายซ้ำแล้วซ้ำอีกจนมันเขียว(สีที่แสดงสถานะว่า Robot ผ่านแล้ว)

Robot บอกถึงพฤติกรรมของคนใช้งานของโปรแกรมเราอยู่แล้ว ถ้าพฤติกรรมไม่เปลี่ยน แต่ข้อมูลเปลี่ยนก็ไม่ต้องคิด แก้ตามข้อมูลที่เปลี่ยนไปเลย

“อย่าเพิ่งคิด” แล้ว “ทำเลย” 



ขอบคุณครับ

วันเสาร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Comic Path 2 "อยากวาด Comic แล้ว"

สวัสดีครับ วันนี้จะมาพูดกันต่อเรื่อง Comic จากเดิมเราพูดไปแล้วว่า Comic ตะวันตก กับตะวันออกต่างกันยังไง เราก็จะมาต่อว่า "อยากวาด Comic แล้วล่ะทำไง"


ถ้าอยากวาด เราต้องรู้ตัวตนเราก่อนว่าเราชอบอะไร ชอบสไตล์ไหน

"เอ้าจะรู้ได้ไงล่ะพี่ ก็ผมไม่เคยเขียน"

ก็ดูว่าเราชอบศิลปินคนไหน หรืองานเก่าๆ ของเรา ส่วนตัวผมชอบ Joe Madureira (หรือ Joe Mad) และก็ Miwa Shirow  ถ้าไม่รู้จักนะก็ต้องพึ่ง Google ละครับ ดูผลงานเค้าได้ แฟนๆ เยอะอยู่

"เอ้าพี่ผมชอบแล้วทำไงต่อ"


ลอกครับ อ่านไม่ผิดครับ ลอกครับ ลอกภาพเขาเลย เราลอกเขาเพื่อพัฒนาตัวเอง ไม่ใช่ลอกเพื่อไปอวดอ้างว่าเป็นงานเราครับ ดียังไงถ้าเราลอกงานเขา

1. ฝึกมือ
    เราจะฝึกการลากเส้นดำ งาน Comic วัดกันที่เส้น งั้นเราต้องฝึกเรื่องนี้หนักๆ หน่วงๆ ไปเลย

2. ได้ฝึกกายวิภาค
    เราจะได้ดูว่าที่เค้าวาดกล้ามเนื้อนั้นวาดยังไงแบบไหน และที่สำคัญเราเองต้องแม่นเอง พยายามไปหาฝึกวาดเพิ่มเติมด้วยครับ

3. สีแสงและเงา
    เราได้ดูว่าแสงที่เขาลงเข้ามาทางไหน มุมไหน ส่วนเทคนิคการลงแสงสี(ไม่มีเสียง) จะตามมาอีกทีนะครับ


"จงลอกเพื่อเป็นความรู้ครับ อย่าลอกเพื่อนำมาอวดอ้างว่าเป็นของตนครับ"

แล้วเราจะภูมิใจในงานของเรา คนที่มาดูเค้าจะได้ดูงานของเรา ตัวตนของเราจริงๆ ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

สวัสดีครับ ไม่ได้เขียน blog นานมากได้เวลากลับมาเขียนอีกครั้งโดย เพื่อนๆ ในทีมงาน Odd-e ครับ โดยตั้งใจว่าต่อจากนี้จะเขียนเกี่ยวกับการวาดการ์ตูน Comic ฝั่งตะวันตกกันครับ

เรื่อง หัดวาด Comic ฝั่งตะวันตกจ้า ep01 


ผมคงไม่ต้องเกริ่นนะครับ ว่า comic ฝั่งตะวันตกนี่ต่างจาก มังงะ (Manga) หรือ Janpanese Comic ยังไงนะครับ ความต่างคือ(ทัศนะของผมนะ) แบบ Manga แล้วส่วน Manga ใช้ช่องไฟที่หวือหวา มีเส้นสปีดที่ทำให้ดูรวดเร็วดุดัน ร่างกายของตัวละครบิดเบี้ยวผิดส่วนบ้างเพื่อความสนุกเพลิดเพลินในการอ่าน 

 Comic 

           ด้านภาพของ Comic จะดู Real กว่า จะใช้การเล่าเรื่องแบบภาพประกอบมากกว่าที่จะมีแอ็คชั่นที่ดูรวดเร็วดุดัน โดยส่วนมาก Comic นั้นจะลงสี น้ำหนักของสีจากเงาดำที่ถมดำสนิท ไปจนถึง แสงสว่าง ตัวสีของ Comic ก็ไม่ได้เกลี่ยสีมากเหมือนเรา painting  ทั่วไป แต่งานหนักของ Comic  คือ การลงเส้นดำและเงาดำ รายละเอียดของมันต้องชัดเจน

Manga 

            จะต่างจาก Comic  จะไม่ได้ลงรายละเอียดกับตัวคนมากนัก ไม่ได้ดูสมจริงเท่าไหร่ แต่จะต่างกันที่กรอบของตัว Manga ที่จะทำให้เราดำเนินเรื่องได้เร้าใจ พร้อมกับเส้นสปีดที่ทำให้ ตัวละคร Action ได้เลื่อนไหลมากยิ่งขึ้น จะไม่ค่อยลงสีเท่าไหร่ เพราะแค่งานตัดเส้นถมและเส้นสปีดก็หนักเอาเรื่อง เพื่อไม่ให้ภาพดูแบนราบจนเกินไปจึงใช้สกรีนโทนเข้ามาช่วย


งานของ Comic และ Manga นั้นดูเหมือนจะแตกต่างกันอยู่บ้าง แต่สิ่งที่ทำให้เหมือนกันนั้นก็คืองานลงเส้นดำ มันเป็นงานที่ต้องใช้พลังกาย พลังใจ และความอดทนสูงมาก กินเวลาเยอะมาก ฉะนั้นงานนี้ถ้าไม่รักกันจริง ก็อาจจะทำให้ท้อกันง่ายๆ เลย